“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวคิดที่ต้องการดำเนินงานเพื่อให้
เกิดการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าชุมชน
ของแต่ละพื้นที่ที่ตลาดรองรับและทำเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนมีหลักการพื้นฐาน 3 ข้อ
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local Yet Global)
2. พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance-Creativity)
3. การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการ
ทางความคิดรวมถึงการดูแล การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การต่อยอด
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มี
คุณภาพมีจุดเด่นจุดขายที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วประเทศ และทั่วโลกอย่าง
เช่นในจังหวัดอุทัยธานี ผ้าทอพื้นเมืองเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม
กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผ้าขาวม้า” เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
กับการดำรงชีวิตของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
ข้าพเจ้าจึงได้คัดสรร และจัดทำโครงงานนี้ขึ้นมา
วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561
ประวัติผ้าขาวม้า
ผ้าขาวม้า ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็นภาษาเปอร์เซีย ที่มีคำเต็มว่า "กามาร์บันด์" (Kamar band) "กามาร์" หมายถึง เอว หรือ ท่อนล่างของร่างกาย "บันด์" แปลว่า พัน รัด หรือ คาด เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกัน จึงหมายถึง เข็มขัด ผ้าพัน หรือ คาดสะเอว คำว่า "กามาร์บันด์" ยังปรากฎอยู่ในภาษาอื่นๆอีก เช่น ภาษามลายู มีคำว่า "กามาร์บัน" (Kamarban) ภาษาฮินดี้มีคำว่า "กามาร์บันด์" (Kamar band) และ ในภาษาอังกฤษมีคำว่า "คัมเมอร์บันด์" (Commer band) หมายถึง ผ้ารัดเอว ในชุดทัคซิโด้ (Tuxedo) ซึ่งเป็นชุดสำหรับออกงานราตรีสโมสร จากงานวิจัย เรื่อง "ผ้าขาวม้า" ของ อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง อธิบายไว้ว่า "ผ้าขาวม้า" เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า "กามา" (Kamar) ซึ่งเป็นภาษาอิหร่านทีใช้กันอยู่ที่ประเทศสเปน เข้าใจว่าสเปนเอาคำว่า "กามา" ของภาษาแขกไปใช้ด้วย เพราะในประวัติศาสตร์ ประเทศทั้งสองมีการติดต่อกันมาช้านาน จากรากฐานของข้อมูล แสดงให้เห็นว่าผ้าขาวม้าเป็นผ้าโบราณ ที่ใช้ประโยชน์กันมานานแล้ว คนไทยรู้จักใช้ผ้าขาวม้ามาตั้งแต่ สมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ถ้านับเวลาย้อนไป จะตรงกับยุคสมัยเชียงแสน ในสมัยเชียงแสนผู้หญิงมักนุ่งผ้าถุง ส่วนผู้ชายเริ่มใช้ผ้าเคียนเอว (ผ้าขาวม้า) ซึ่งได้วัฒนธรรมมาจากไทยใหญ่ (ไทยใหญ่ใช้โพกศีรษะ) ส่วนไทยเรายังมุ่นมวยผมอยู่ เมื่อเห็นประโยชน์ของผ้าจึงนำมาใช้บ้าง แต่เปลี่ยนมาเป็นผ้าเคียนเอว เมื่อเดินทางไกลจึงนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ซึ่งให้ประโยชน์มาก เช่น ใช้ห่ออาวุธ และเก็บสัมภาระในการเดินทาง ปูที่นอน นุ่งอาบน้ำ ใช้เช็ดร่างกาย เมื่อไทยใหญ่เห็นประโยชน์ของการใช้ผ้า จึงนำมาเคียนเอวตามอย่างบ้าง "เคียน" เป็นคำไทย มีความหมายตามพจนานุกรม คือ พัน ผูก พาด โพก คาด คลุม เมื่อนำมารวมกับคำว่า "ผ้า" และส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น เอว จึงมีความหมายว่า เป็นผ้าสำหรับคาดเอว ซึ่งคนไทยโบราณจะรู้จัก "ผ้าเคียนเอว" มากกว่า "ผ้าขาวม้า" เนื่องจากใช้เรียกกันมาแต่โบราณ ส่วนคำว่า "ผ้าขาวม้า" มานิยมใช้เรียกกันในภายหลัง หลักฐานที่แสดงว่าคนไทยเริ่มใช้ผ้าขาวม้าในสมัยเชียงแสน มีปรากฎให้เห็นจากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ วัดภูมินทร์ จ. น่าน และเมื่อดูการแต่งกายของ หญิง - ชาย ไทยในสมัยอยุธยา จากภาพเขียนในสมุดภาพ "ไตรภูมิสมัยอยุธยา" ราวต้นศตวรรษ ที่ 22 จะเห็นได้ว่าชาวอโยธยานิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า คาดพุงหรือนุ่งโจงกระเบนแล้วใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอตลบห้อยชายทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง สมัยรัตนโกสินทร์ชาวไทยทั้งชาย หญิงนิยมใช้ผ้าขาวม้ามาทำประโยชน์กันมากยิ่งขึ้นโดยไม่จำกัดแต่เพียงเพศชายอย่างเดียวเหมือนในอดีต และไม่จำกัดเฉพาะทำเป็นเครื่องตกแต่งร่างกายอย่างเดียว "ผ้าขาวม้า" เป็นอาภรณ์อเนกประสงค์ มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนใหญ่ทอมาจากฝ้าย แต่บางครั้งอาจทอจากเส้นไหม ในบางท้องถิ่นนิยมทอจากเส้นด้ายดิบและเส้นป่านนิยมทอสลับสีกันเป็นลายตาหมากรุกหรือเป็นลายทาง โดยมากผลิตในแถบภาคเหนือหรือภาคอีสาน มีขนาดความกว้างยาวแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะกว้างประมาณ 3 คืบ ยาว 5 คืบ อายุของการใช้งานจะประมาณ 1 - 3 ปี สำหรับราคาก็จะแตกต่างกันออกไปตามวัสดุที่ใช้ (ถ้าเป็นผ้าไหมเนื้อดีจะมีราคาแพง ซึ่งนิยมใช้แตะพาดบ่า หรือพาดไหล่) "ผ้าขาวม้า" เป็นอาภรณ์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย โดยนิยมใช้กันทั่วๆไปโดยเฉพาะตามชนบท โดยประวัติผ้าขาวม้าอาจจะไม่ใช่ผ้าของคนไทย แต่ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 900 ปี ที่ผ่านไปผ้าขาวม้านับได้ว่าเป็นผ้าสารพัดประโยขน์อย่างแท้จริงเพราะอย่างน้อยด้วยรูปลักษณ์และลวดลายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รวมไว้ทั้งศาสตร์แห่งสีสันและศิลป์แห่งลายผ้าไทยนำมาผสมผสานกันอย่างกลมกลืนผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่อำนวยความสะดวกให้กับคนไทยมาหลายศตวรรษ โดยไม่มีทีท่าว่าจะสูญหายไปง่ายๆเนื่องด้วยประโยชน์ของผ้ามีมากมายนานัปการทั้งนี้เพราะผ้าขาวม้ามีความเกี่ยวข้องกับวิถีทางแห่งการดำรงชีวิตมากมายหลายอย่างด้วยกัน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า "ผ้าขาวม้า" คือสิ่งมหัศจรรย์แห่งสายใยที่ถักทอไว้อย่างประณีต จากตำนานกาลเวลา และคุณค่าอันน่ายกย่อง สรุปความได้ว่าประโยชน์ของผ้าขาวม้าใช้กันตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
ผ้าขาวม้าสารพัดประโยชน์
1. ใช้นุ่งอาบน้ำ
2. ทำความสะอาดร่างกาย
3. ใช้ซับเหงื่อ
4. ปูรองนั่ง
5. นอนโพกศีรษะกันแดด
6.โพกศีรษะกันแดด
7. ผูกทำเปล
8. ใช้นุ่งอยู่บ้านแทนกางเกง
9. คาดเอว
10. ห่ม - คลุม ร่างกาย
11. ใช้ห่อของแทนย่าม
12. นุ่งกระโจมอกแทนผ้าถุง
13. ปัดฝุ่น - แมลง - ยุง
14.ใช้มัดแทนเชือก
15. ใช้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า
16. ม้วนหนุนแทนหมอน
17. บังแดด - ฝน - ลม
18. ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้
19. ใช้เช็ดตัวแทนผ้าเช็ดตัว
20. ทำผ้าขี้ริ้ว พรมเช็ดเท้า
21. ใช้โบกแทนพัด
22. ใช้แทนผ้าพันแผล
23.ทำผ้ากันเปื้อน
24. คลุมโต๊ะ
25. ผ้าอนามัยสำหรับคุณผู้หญิง
26. ทำผ้าอ้อมสำหรับเด็ก
27. อุปกรณ์การเล่นของเด็ก
ฯลฯ
2. ทำความสะอาดร่างกาย
3. ใช้ซับเหงื่อ
4. ปูรองนั่ง
5. นอนโพกศีรษะกันแดด
6.โพกศีรษะกันแดด
7. ผูกทำเปล
8. ใช้นุ่งอยู่บ้านแทนกางเกง
9. คาดเอว
10. ห่ม - คลุม ร่างกาย
11. ใช้ห่อของแทนย่าม
12. นุ่งกระโจมอกแทนผ้าถุง
13. ปัดฝุ่น - แมลง - ยุง
14.ใช้มัดแทนเชือก
15. ใช้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า
16. ม้วนหนุนแทนหมอน
17. บังแดด - ฝน - ลม
18. ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้
19. ใช้เช็ดตัวแทนผ้าเช็ดตัว
20. ทำผ้าขี้ริ้ว พรมเช็ดเท้า
21. ใช้โบกแทนพัด
22. ใช้แทนผ้าพันแผล
23.ทำผ้ากันเปื้อน
24. คลุมโต๊ะ
25. ผ้าอนามัยสำหรับคุณผู้หญิง
26. ทำผ้าอ้อมสำหรับเด็ก
27. อุปกรณ์การเล่นของเด็ก
ฯลฯ
ผ้าขาวม้า เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ผ้าเคียนเอว”
ผ้าขาวม้า เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ผ้าเคียนเอว” (เคียน แปลว่า พัน ผูก คาด) เริ่มใช้กันมาตั้งแต่สมัยเชียงแสน ชาวไทยในสมัยก่อนก็นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า คาดพุง และอื่นๆ การใช้งานของผ้าขาวม้าเกิดขึ้นอย่างหลากหลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากผ้าคาดเอวก็มาเป็นผ้าสำหรับห่ออาวุธ เก็บสัมภาระ ใช้ปูพื้น ใช้นุ่งอาบน้ำ เป็นต้น ขนาดทั่วไปของผ้าขาวม้าอยู่ที่ 2 ศอก (ความกว้าง) คูณ 3-4 ศอก (ความยาว) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับความสูงของผู้ชายไทยทั่วไป โดยความกว้างที่ว่านี้จะยาวจากเอวไปจนถึงกลางลำแข้ง ในขณะที่ความยาวสามารถพันรอบเอวแล้วเหลือเศษออกมาเล็กน้อย สำหรับในท้องถิ่นแถบอีสาน ผ้าขาวม้าอาจจะเรียกว่า “ผ้าแพร” ซึ่งส่วนใหญ่จะทอจาก “กี่ทอผ้า” โดยมีความยาวประมาณ 20-30 เมตรต่อการทอแต่ละครั้ง จากนั้นจะนำมาตัดลงให้เหลือผืนละ “หนึ่งวา” ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ผ้าแพรวา” ในขณะที่ทางภาคใต้จะเรียกว่า “ผ้าซักอาบ” อันสืบเนื่องมาจากประโยชน์หลักของตัวผ้าที่นิยมใช้กันในขณะอาบน้ำ
สรุป ผ้าขาวม้า
สรุปได้ว่า ผ้าขาวม้า เป็นผ้าท้องถิ่นของไทยที่มีมายาวนานกว่า 500 ปี เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้ในชีวิตประจำวันมาช้านาน และมีหลายชุมชนทั่วประเทศที่ยึดถืออาชีพทอผ้าขาวม้าเพื่อเลี้ยงชีพ ผ้าขาวม้าของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านวัตถุดิบ ลวดลาย คุณภาพ และความเป็นมาเชิงลึก ซึ่งคนทั่วไปอาจยังไม่มีความเข้าใจถึงรายละเอียดเหล่านี้ และอาจไม่เห็นคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)